การบริการพื้นฐาน  |
|
การบริการพื้นฐาน
1. การคมนาคม
การคมนาคมในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลไม้ฝาด ใช้การคมนาคมทางบกเป็นสำคัญ โดยมีทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 4046 (ถนนตรัง – สิเกา) เป็นถนนสายหลักในการเดินทางเข้าสู่ตัวเมืองและอำเภอใกล้เคียง นอกจากนี้ยังมีถนน รพช. ถนนโยธาธิการ และถนนของท้องถิ่นเป็นถนนโครงข่าย แยกจากถนนสายหลักเข้าสู่หมู่บ้านและเชื่อมโยงระหว่างหมู่บ้าน ส่วนถนนที่ใช้ภายในหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นถนนดินลูกรัง แยกเป็น ถนนลูกรัง 29 สาย ถนนลาดยาง 5 สาย ถนนลาดยางในหมู่บ้าน 9 สาย ถนนคอนกรีต 5 สาย
2. การไฟฟ้า
- ราษฎรในตำบลมีไฟฟ้าใช้ จำนวน 7 หมู่บ้าน
|
|
|
|
|
|
|
สภาพทางเศรษฐกิจ  |
|
สภาพทางเศรษฐกิจ
อาชีพ
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ การทำสวนยางพารา สวนปาล์มน้ำมัน เป็นต้น และประกอบอาชีพทำการประมง นอกจากนี้ประชากรบางส่วนประกอบอาชีพมากกว่าหนึ่งอาชีพควบคู่กัน คือการรับจ้างและเกษตรกรรม ประมงและเกษตรกรรม อาชีพบริการต่างๆ และรับราชการ
หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล
- ปั๊มน้ำมัน และก๊าช 5 แห่ง
- โรงแรม 1 แห่ง
|
|
|
|
|
|
|
สภาพสังคม  |
|
ภาพสังคม
ประชากร
องค์การบริหารส่วนตำบลไม้ฝาด มีประชากรทั้งสิ้น จำนวน 8,595 คน โดยแยกเป็นชาย 4,337 คน แยกเป็นหญิง 4,258 คน โดยแยกเป็นหมู่บ้านต่างๆ ดังนี้
หมายเหตุ ข้อมูลประชากรจากอำเภอสิเกา ณ เดือน มกราคม พ.ศ. 2555
หมู่ที่
|
ชื่อหมู่บ้าน
|
จำนวนประชากร
|
รวม
|
จำนวนครัวเรือน
|
ชาย
|
หญิง
|
1
|
บ้านห้วยต่อ
|
518
|
507
|
1,013
|
320
|
2
|
บ้านห้วยต่อน้อย
|
514
|
512
|
1,018
|
284
|
3
|
บ้านไม้ฝาด
|
775
|
760
|
1,547
|
979
|
4
|
บ้านปากเมง
|
975
|
947
|
1,901
|
889
|
5
|
บ้านฉางหลาง
|
850
|
827
|
1,641
|
431
|
6
|
บ้านผมเด็น
|
403
|
413
|
814
|
245
|
7
|
บ้านนาหละ
|
302
|
292
|
578
|
181
|
|
รวม
|
4,337
|
4,258
|
8,595
|
3,329
|
สถาบันและองค์กรทางศาสนา
- มัสยิด จำนวน 3 แห่ง ประกอบด้วย
1. มัสยิดบ้านฉางหลาง ตั้งอยู่หมู่ที่ 5
2. มัสยิดบ้านนาแห้ง ตั้งอยู่หมู่ที่ 5
3. มัสยิดบ้านนาหละ ตั้งอยู่หมู่ที่ 7
- สำนักสงฆ์ จำนวน 2 แห่ง คือ
1. สำนักสงฆ์บ้านห้วยต่อ ตั้งอยู่หมู่ที่ 1
2. สำนักสงฆ์นาสีทอง ตั้งอยู่หมู่ที่ 4
- วัด จำนวน 1 แห่ง คือ
1. วัดไม้ฝาด ตั้งอยู่หมู่ที่ 3
การศึกษา
สถานศึกษา/แหล่งที่ให้ความรู้กับเด็กนักเรียน จำนวน 6 แห่ง ดังนี้
1. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย (วิทยาเขตตรัง) ตั้งอยู่ หมู่ที่ 3 เปิดสอนระดับปริญญาตรี
2. โรงเรียนบ้านห้วยต่อ ตั้งอยู่ หมู่ที่ 1 เปิดสอนระดับชั้นประถมศึกษา ( ป.1- ป.6 )
3. โรงเรียนวัดไม้ฝาด ตั้งอยู่ หมู่ที่ 3 เปิดสอนระดับชั้นประถมศึกษา ( ป.1-ป.6 )
4. โรงเรียนบ้านหาดปากเมง ตั้งอยู่ หมู่ที่ 4 เปิดสอนระดับชั้นประถมศึกษา ( ป.1- ม.3 )
5. โรงเรียนบ้านฉางหลาง ตั้งอยู่ หมู่ที่ 5 เปิดสอนระดับชั้นประถมศึกษา ( ป.1-ป.6 )
6. โรงเรียนบ้านผมเด็น ตั้งอยู่ หมู่ที่ 6 เปิดสอนระดับชั้นประถมศึกษา ( ป.1-ป.6 )
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 4 ศูนย์ ได้แก่
1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านห้วยต่อ หมู่ที่ 1
2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหาดปากเมง หมู่ที่ 4
3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาหละ หมู่ที่ 7
4. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านฉางหลาง หมู่ที่ 5
สาธารณสุข
องค์การบริหารส่วนตำบลไม้ฝาด มีหน่วยพยาบาลที่ให้บริการประชาชนในเรื่องของการรักษาพยาบาล จำนวน 2 แห่ง ดังนี้
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไม้ฝาด ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ซึ่งมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวน 5 คน ลูกจ้าง 2 คน
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านฉางหลาง ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ซึ่งมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวน 3 คน
ประเพณีและวัฒนธรรม
ตำบลไม้ฝาด มีวัฒนธรรมประเพณีที่สืบต่อกันมา คือวันสารทเดือนสิบ,ประเพณีชักพระ,งานวันสงกรานต์และรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ, งานลอยกระทง,การจัดงานอนุรักษ์หอยตะเภา
แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในพื้นที่
1. หาดปากเมง ตั้งอยู่หมู่ที่ 4
2. หาดเจ้าไหม ตั้งอยู่หมู่ที่ 5
3. หาดราชมงคล ตั้งอยู่หมู่ที่ 3
4. น้ำตกอ่างทอง ตั้งอยู่หมู่ที่ 1
|
|
|
|
|
|
|
สภาพทั่วไป  |
|
สภาพทั่วไป
ที่ตั้งและขนาด
องค์การบริหารส่วนตำบลไม้ฝาด เป็นองค์การบริหารส่วนตำบล 1 ใน 5 องค์การบริหารส่วนตำบลของอำเภอสิเกา ได้รับการยกฐานะจากสภาตำบลเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยและมีผลบังคับใช้เมื่อปี พ.ศ. 2540 และที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลไม้ฝาด ตั้งอยู่เลขที่ 201 ถนนสิเกา - ปากเมงหมู่ที่ 4 ตำบลไม้ฝาด อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง องค์การบริหารส่วนตำบลไม้ฝาด อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอสิเกา ประมาณ 10 กิโลเมตร และห่างจากศาลากลางจังหวัดตรัง ประมาณ 40 กิโลเมตร
เนื้อที่
องค์การบริหารส่วนตำบลไม้ฝาด มีเนื้อที่ทั้งหมด 152 ตารางกิโลเมตร หรือ 95,000 ไร่
อาณาเขต
องค์การบริหารส่วนตำบลไม้ฝาด มีอาณาเขตติดต่อกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ต่างๆ ดังนี้
ทิศเหนือ
ทิศใต้
ทิศตะวันออก
ทิศตะวันตก
|
ติดต่อกับ
ติดต่อกับ
ติดต่อกับ
ติดต่อกับ
|
องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
องค์การบริหารส่วนตำบลบางสัก อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเมืองเพชร อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
ทะเลอันดามัน
|
ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไป มีลักษณะทั้งที่ราบลุ่มและที่ราบค่อนข้างสูง และมีพื้นที่บางแห่งติดกับทะเล พื้นที่ราบมีเนื้อที่ประมาณร้อยละ 65 ของพื้นที่ตำบล ส่วนพื้นที่ราบลุ่มมีเนื้อที่ประมาณร้อยละ 20 ของพื้นที่ตำบล และที่ราบค่อนข้างเป็นลูกคลื่นและติดต่อกับทะเลมีเนื้อที่ประมาณร้อยละ 15 ของพื้นที่ตำบลตำบลไม้ฝาดมีลำน้ำธรรมชาติไหลผ่าน คือลำน้ำหนานสูง และลำน้ำตกอ่างทอง
สภาพภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศ เป็นแบบมรสุมฤดูร้อน มี 2 ฤดู คือ
- ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือน มกราคม ถึงเดือน เมษายน
- ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือน พฤษภาคม ถึงเดือน ธันวาคม
เขตการปกครอง
องค์การบริหารส่วนตำบลไม้ฝาด มีจำนวนหมู่บ้านที่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 7 หมู่บ้าน ดังนี้
1. บ้านห้วยต่อ
2. บ้านห้วยต่อน้อย
3. บ้านไม้ฝาด
4. บ้านปากเมง
5. บ้านฉางหลาง
6. บ้านผมเด็น
7. บ้านนาหละ
|
|
|
|
|
|
|